15 ตุลาคม 2552

แฟ้มข่าว: ทำเว็บ-บล็อกช่วยสร้างรายได้คนพิการ

หัวข้อข่าว : ทำเว็บ-บล็อกช่วยสร้างรายได้คนพิการ
พก.จับมือ คนทำเว็บ งัดทีมวิทยากร อบรมหลักสูตรอาชีพทำเว็บบล็อก เว็บไซต์ เพื่อสร้างรายได้บนอินเทอร์เน็ตครั้งที่1 ยังพบตั้งเป้าสร้างรายได้จริง …

เมื่อคนพิการไม่ได้ถูกทอดทิ้ง หรือจำกัดขีดความสามารถอีกต่อไป หลายฝ่ายสนัยสนุน นับจากนี้ ช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นคงถูกปิดลง บริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นในการสร้างอาชีพให้กับคนพิการ ควบคู่กับการนำแนวคิดด้านการบริหารจัดการ และเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนาอาชีพ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในการจัดโครงการอบรม “หลักสูตรอาชีพทำเว็บบล็อก เว็บไซต์ เพื่อสร้างรายได้บนอินเทอร์เน็ต” หรือ WeBlog Camp 2009 ครั้งที่ 1

เปิดรับสมัครคนพิการ เข้ารับการอบรมจำนวน 25 คน เป็นคนพิการจำนวน 20 คน คนปกติจำนวน 5 คน ระยะการฝึกอบรม 22 วัน ระหว่างวันที่ 16 ก.ค.2552 ถึง 21 ส.ค.2552 เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.30 น. – 16.30 น. ระหว่างการอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 160 บาท ค่าเดินทางวันละ 30 บาท หลังอบรมเสร็จ และโอกาสได้ร่วมงานกับทางบริษัทฯ หรือฝึกงานในบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอินเทอร์เน็ต

นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมศักยภาพ และสิทธิของผู้พิการ สำนักงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า การอบรมมีหลักสูตรที่แน่นอนจึงผลักดันเข้าสู่โครงการต้นกล้าอาชีพ โดยคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากรัฐบาล และอยากให้ผู้พิการตั้งใจอบรมอย่างจริงจัง

ผอ.พก. เปิดเผยต่อว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)สำรวจผู้พิการ ปี2550 พบว่ามีจำนวน 1.9 ล้านคน หนึ่งในจำนวนนี้ ได้ขึ้นทะเบียน เพื่อรับสิทธิของคนพิการประมาณ 8 แสนคนทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2540 พม.มีนโยบายจะให้เบี้ยยังชีพ กับคนพิการครบทุกคนที่จดทะเบียน 500 บาท ต่อเดือน เพื่อสนับสนุนให้คนพิการเข้าถึงกิจกรรมทางสังคมเท่านั้น ไม่รวมกับเบี้ยผู้สูงอายุ

ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือทีเคปาร์ค ชี้แจงความร่วมมือครั้งนี้ว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในภาระกิจของทีเคปาร์คนอกจากนี้ ยังทำให้คนพิการพัฒนาศักยภาพ และความรู้ได้หลายส่วนรวมถึสามารถประกอบอาชีพ โดยเฉพาะบริษัทที่ให้ความร่วมมือทั้งหมด จะเป็นช่องทางให้ผู้พิการใช้ประกอบอาชีพหลังอบรมเสร็จ

นายอัครวุฒิ ตำราเรียง ประธานกรรมการ บริษัทมาร์เวลิค เอนจิ้น วิทยากรอบรมหลักสูตรจูมล่า แสดงความคิดเห็นว่า ขณะนี้ เรื่องทำเว็บไซต์สามารถรับมาทำที่บ้านได้ หรือที่ที่มีอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อรู้ขอบเขตงาน นอกจากนี้ ยังมองว่าการทำงานของคนพิการไม่มีอุปสรรคกับถ้าใช้เครื่องมือให้คล่อง

“เราคุยอยู่กับฝั่งตรงข้าม ไม่รู้หรอกว่า คนนั้นเป็นเด็กผู้ใหญ่ หรือคนแก่ ส่วนความเข้าใจ ดูจากเนื้องหาที่จัดมาตั้งแต่ต้น มองว่าควรปูพื้นฐานทั้งหมดโดยเริ่มตั้งแต่ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคู่กับพื้นฐานด้านการตลาด พร้อมกับความเข้าใจอินเทอร์เน็ต ก่อนจะลงมือใช้เครื่องมือเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเหล่านั้น” วิทยากรอบรมหลักสูตรจูมล่า กล่าว

นายปรีดา ลิ้มนนทกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีดับบิวดี เอาท์ซอร์ส เมเนจเมนท์ จำกัด (ผู้ทุพพลภาพ) กล่าวถึงการคัดเลือกผู้พิการเข้าอบรมครั้งนี้ว่า ดูจากความตั้งใจ เนื่องจากเป็นโครงการเล็ก จึงต้องการประเมินจากโครงการแรกก่อนว่าประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกัน คาดว่าจะเพิ่มจำนวนได้ในครั้งต่อไป
“อยากให้โครงการแรกประสบความสำเร็จก่อน และให้คนพิการที่มาเรียน เกิดรายได้จริง การตลาดบนเว็บได้ ขณะเดียวกัน ต้องดูผลการเรียนครั้งนี้ การตั้งใจและนำคนกลุ่มนี้ โดยเน้นการประกอบอาชีพอิสระ ไม่ต้องมีหน่วยงานมารองรับ” กก.บ.พีดับบิวดีฯ กล่าว

นายปรีดา กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากให้ทุกคนตั้งใจ เหมือนอย่างตนเองเริ่มต้นจากความไม่เป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้พิการที่เข้ารับการอบรมครั้งนี้ มีอายุตั้งแต่ 18-58 ปี นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาที่พบผู้พิการหูหนวกสมัครเข้ามา จึงต้องใช้ล่าม และล่ามไม่มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ต งบประมาณที่ใช้ไม่เพียงพอ

เป็นเรื่องที่น่ายินดี เมื่อมีผู้จุดพลุเปิดประตูสู่การรายได้ให้กับผู้พิการ เพราะทุกคนเท่าเทียม กันในสังคม คราวนี้ก็อยู่ที่ว่าความตั้งใจ เอาจริงเอาจังของผู้พิการจะเต็มเปี่ยมขนาดไหน แม้ว่าก้าวแรกของการเริ่มต้นจะเป็นพบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่คาดว่าทุกฝ่าย คงใช้เป็นแนวทาง เพื่อปรับปรุงให้ก้าวที่สอง และก้าวต่อไปเดินได้อย่างราบเรียบ...

กนกรัตน์ โกวิชัย

itdigest@thairath.co.th

บทความจาก : ไทยรัฐ

วันที่ : 20 กรกฎาคม 2552
ที่มา : http://www.bcoms.net/article/detail.asp?id=874

น่าเสียดายที่อ่านข่าวนี้ช้าเกินไป แต่ไม่เป็นไร เมื่อวันที่ 14 /10/52 ก็เพิ่งไปลงทะเบียนเรียนการสร้างเว็บไซต์ ที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จ.เชียงใหม่ มา ชำระค่าเรียนไป 1,000เรียน 30 ชั่วโมง ก็หวังว่าจะได้ความรู้มาพัฒนาและใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้ให้มากที่สุด ก็ละกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น