10 ธันวาคม 2553

ทบทวน ชีวิต ด้วยเวลาว่าง ที่เพิ่งจะหาได้ แค่ เสี้ยววัน ที่ลาหยุด จากงานประจำ 2วัน

หากมองว่า ความพิการเป็นอุปสรรค อุปสรรค ที่เผชิญอยู่ ก็คือความไม่สะดวกสบาย ไม่คล่องแคล่วว่องไว กว่า ความปกติ แน่นอน จากชีวิตทีีแปรผันจากคนที่มีร่างกายปกติ มาสู่ บทบาทใหม่ นั้น คือ คนพิการ อุปสรรค ที่ได้รับ คือ กายอุุปกรณ์ไม่อำนวย ก็เท่านั้น

ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่พบจากดำรงชีวิต ก็ไม่แตกต่าง จาก คนอื่นท้่วไปสักเท่าไร

ดิ้นรนเหมือนกัน เหนื่อยเหมือนกัน ทำงานเหมือนกัน มีบทบาทหน้าที่ คล้ายๆ กัน ทั้งนั้้น

แต่จะไม่เหมือนกันตรงที่ว่า ใคร จะเริ่ม หรือ จะเลิก ที่จะคิด ที่จะทำอะไรต่อไปเท่านั้นเอง

ส่วนตัว ก็คิดแต่ไม่คาดหวัง มากมาย นัก คิดตอนนี้มีเพียงว่า ในแต่ละวัน เราเผชิญกับอะไร
คิดและแก้ไขมันไปได้อย่างไร มีความผิดพลาด บกพร่องใดบ้าง ที่ต้องแก้ไข ไตร่ตรองปรับปรุงกันไป

ไม่ดี ถ้าเริ่มต้นใหม่ ก็ให้โอกาสตัวเองที่จะแก้ไข พยายามอย่าแก้ตัวให้มากจนเห็นแก่ตัวจนเกินไป
รักครอบครัวให้มาก ทำหน้าที่สมาชิกในครอบครัวให้ดีกว่าที่เป็น  ใส่ใจคนใกล้ตัวให้มากกว่าเดิม

คนไกลตัว ที่ไม่ใช่ครอบครัว ก็เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง เห็นใจกันบ้าง มองส่วนดีของคนอื่นให้มาก

แล้ว ก็ก้าวต่อไปเรื่อยๆ อย่าวาดฝันอนาคต เหมือนคนกินลมกินแล้ง

เพราะทุกวัน ก็มีอุปสรรค ประจำวันของมันอยู่แล้ว อย่าเอา ปัญหาอื่น ที่คิดเพ้อเจ้อ มาสร้างปัญหาให้หัวใจตัวเองว้าวุ่นอีกเลยจะดีกว่า ปล่อยไปบ้าง วางไว้บ้างก็ดี

วันนี้ คิดได้แค่นี้ แหละ นะเรา

พรุ่งนี้ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของพรุ่งนี้เถอะ

06 ธันวาคม 2553

ขาเทียมข้างละแสน

แสนแพง แสนดี แสนไกล เกินเอื้อม

แสนเก่ง แสนเจ๋ง แต่เซ็ง จะหาเงินไหน

แสน จะแพง แสนจะดี แสนจะเจ๋ง

 แต่ไม่เฮงเกิดมาจน ไม่มีเงินก้อนมาซื้อมัน

กะขาเทียมข้างละแสน แสนเป็นไปได้ยาก ที่จะเอื้อมมา เป็นขาเรา

เฮ้อออออออออออออออออออออออออออ เศร้าาาาาาาาาาาาาาาาาาา

otto

05 พฤศจิกายน 2553

จาก พระดำรัสของพระเจ้า "จงมองส่วนดีของเขาเสมอ และ ไม่จดจำความผิดของผู้อื่น"

วานนี้ วันศุกร์ที่ 5 พ.ย. 53 ปอยได้รับบทเรียน ชีวิตอีกครั้ง ในการเผชิญกับปัญหา (ที่ไม่คิดว่า มันจะเป็นเรื่อง)จริงไม่อยากเท้าความถึง แต่มีประโยคหนึ่ง ก้องอยู่ในใจว่า "จงให้อภัย และไม่จดจำความผิดของผู้อื่น" และประโยคสุดท้าย "จงมองส่วนดีของผู้อื่นและคิดว่าผู้อื่นดีกว่าตนเสมอ"

พระดำรัสของพระเจ้า ที่ให้ปลอบประโลมจิตใจ หัวใจอันแสนหยาบกร้าน ให้เนียนนุ่มขึ้นเยอะทีเดียว

ที่ปอยรู้สึกอย่างนั้น เพราะว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อน ปอยคง เสียใจ โกรธ มากมายกว่านี้ ใจปอยคงแย่กว่านี้แน่ๆ

ก่อนจะนอน ปอยก็คิดได้อีกว่า  พระเจ้าตรัสว่า อย่าโกรธอะไรให้ใคร จนเลยตะวันขึ้นอีกวัน และนี้ก็เช้าวันใหม่
ในคำอธิษฐาน ตามแบบที่พระเจ้าสอนว่า " ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายที่ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ในสวรรรค์เป็นอย่างไร ขอให้เป็นอย่างนั้นในแผ่นดินโลก ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย และทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนอย่างที่ข้าพระองค์ได้ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น ขอโปรดอย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลองแต่ขอให้พ้นจากซึ่งชั่วร้ายเหตุว่าราชอำนาจ ฤทธิ์เดชเป็นของพระองค์สืบๆ ไปเป็นนิตย์ อาเมน"

ปอยคิดว่าสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้เกิดกับเราท่ี่สุด คือ "สันติสุข"
แล้วสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน ก็คือ อาหาร
และสิ่งที่เราต้องยึดมั่นในการดำรงชีวิตอยู่กับผู้อื่น ให้อภัย

นี่แหละ อีกสิ่งที่พระเจ้าประทาน แล้ว ใจปอยเพิ่งตระหนัก และคิดได้ ยิ่งเราติดสนิทกับพระเจ้ามากเท่าไร รักพระองค์ด้วยสุดจิตสุดใจ เฝ้าเดี่ยวด้วยใจสัตย์ซื่อ และ ไม่หลงไปกับทางของโลก ทุกอย่างก้าวของเราก็จะมีพระองค์ทรงเคียงข้าง พระเจ้าสถิตอยู่ในเรา แต่จิตวิญญาณของเราจะเติบโตหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสัตย์ และมั่นคงกับพระองค์เพียงใด ความเชื่อที่ตั้งอยู่บนศิลา ก็ เจริญยิ่งกว่า ความเชื่อที่ตั้งอยู่บนหาดทราย และ ใจหวั่นไหว พัดไปมา ตามมรสุมชีวิต ....................เมื่อเราก็ตามที่เรา หลงลืมพระเจ้า จิตใจเราก็จะหลงไปในความมืด ขอให้ความสว่าง อยู่กับท่านเสมอไป ............อธิษฐานในพระนามพระเยซูคริสต์เจ้า เอเมน

13 กรกฎาคม 2553

ดิ แอร์พอร์ท กรีนเนอรี่ เป็นอาคารที่ได้รับโล่ห์รางวัล จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

ดิ แอร์พอร์ท กรีนเนอรี่ กรีนเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์
เป็นอาคารที่ได้รับโล่ห์รางวัล จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
เพราะ ดิ แอร์พอร์ท กรีนเนอรี่ สร้าง ขึ้นด้วยเจตนาอันดี ที่จะให้แขกผู้พัก และพนักงานทุกคน
เป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อนร่วมกัน



และเป็นองค์กร ที่มีนโยบายในการให้โอกาส คนพิการได้เข้าทำงานด้วย

คำบอกเล่า                 "ปอยจำวันที่ เข้าสัมภาษณ์งานที่บริษัทฯ ได้
วันนั้นปอย ถามกรรมการบริษัทฯ ถึงทัศนคติ ที่มีต่อคนพิการ
ท่านกล่าวว่า" คนพิการ มีความอดทน และความพยายามสูงกว่าคนปกติ "

เป็นทัศนคติที่ดีมาก สำหรับคนพิการ เพราะน้อยนัก จะได้ยินอย่างนี้



20 กุมภาพันธ์ 2553

เย้! เรียนจบแล้ววววววววววว

"Hello>  ปี๋อ้วนก๋า น้องปอยหนา ปี่อ้วน  ถ่ายฮูปฮับปริญญา 1 นิ้ว ล่ะก๋า"
" ถ่ายแล้วเจ้าน้องปอย"
" ปี่ซื้อชุดถ่าย ตั้งแต่ ปี 49 ล่ะ "
"ก๋า ปี๋อ้วน"
"น้องปอยซื้อต่อปีก้อได้หรอ บะท่าไปตัดใหม่"
"ปี่อ้วน อู้ซื่อ น้องปอย บ่อไข้มีสะตาง หนา กะจะไปถ่ายตี่ร้านถ่ายฮูป ตี่ไหนดี"
"ยืมของปี๋ก็ได้"
"แต๋ก๋า อั๊นยืมเนอะ"
"เจ้า ได้กะ ได้กะ"
"อั๊น ประมาณ วันตี่ 16 ปี๋เอาไปฮื่อ ตั๋วเน้อ"
"เจ้า"
หลายวันต่อมา...........
"น้องปอย ปี่อยู่สยามทีวี กะเดียวไปหาเน้อ"

และแล้ว ปี๋อ้วนคนงามก็มากับฮันนี่  (หวานใจ สามีชาวเยอรมัน)
"ปี๋อ้วนเจ้า ขอบคุณ ล่ะ จะได้จะหาโอกาส คืนฮือ เน้อ เจ้า"
"เจ้าๆ บ่อเป็นยัง อั๋นปี๋ไปเน้อ จะไปริมปิงต่อ"
พอบอกทางกันเสร็จ ร่ำลากันเรียบร้อย  ตกเย็นก็หอบชุดครุยกลับบ้าน

วันถัดมา .....
ไปถ่ายแถวหนองหอย จ่ายไป 140 ค่ารูป 1 นิ้ว 120 กับsave file 20 บาท

และแล้วก็ได้รูปมาอย่างที่จะได้เห็นต่อไปนี้..............

เพราะนั้นคู่กัน อิอิ (ใครงามกว่ากัน สรุปว่า พอพอกัน เน้อเจ้า)

ต้องขอขอบพระคุณ พี่ศรีจิต(พี่อ้วน) ที่กรุณาให้ยืมชุดครุยนะคะ
และดีใจที่เราได้อยู่รุ่นเดียวกันนะคะ
พวกเราเหล่านิเทศเขียวทอง
จะไม่ทิ้งกัน
และจะสร้างสรรค์สังคม
ให้เจริญวัฒนา
ต่อไป


19 กุมภาพันธ์ 2553

วันครบรอบแต่งงาน ปีที่ 4

เช้า วานนี้ หลังจาก ไปส่ง เจแปน(ลูกชาย)ที่โรงเรียนแล้ว ก็มีประโยคขอร้อง ออกมาจากปากสามี ดิฉันเองค่ะ ว่า


เอ่อ ... My shy but I say.

“ขอหอมหน่อย” สามี

“ทำไมหรอ วันนี้ เค้าสวยใช่ม๊า” ปอยผู้หลงตัวเอง อิอิ

“เปล่า” (จะบอกว่า ที่อยากหอมไม่ใช่เพราะ ภรรยาสวย หึ ตีความหมายได้อย่างนี้ กับคำว่าเปล่า)

“วันนี้เป็นวันครบรอบแต่งงาน 4 ปีของเรา” สามีทำหน้าลังถึงซะไม่มี (ซึ้งอ่ะซึ้ง)

“ว้าย จริงด้วย วันนี้วันที่ 18 แฮะ แฮ่ ลืมไป”, “ม่ะ ขอหอมมั้ง” อ่ะนะ

17 กุมภาพันธ์ 2553

“เรามา Defragment หัวใจ ของเราหน่อยดีไหมค่ะ”

จะสังเกตว่า บทความหลายบทความที่อยู่ในบล็อกนี้ จะกล่าวถึง “อดีต” พูดถึง “เมื่อก่อน” กล่าวถึง “ปัจจุบัน” พูดถึง “ตอนนี้” บ่อยมากๆ มันมีเหตุผลในตัวของมันเอง บทความที่ปอยเขียน ทุกบทความ เป็นเจตนาที่จะเขียน ทบทวนตัวเอง ทบทวนความคิด เป็นการทดความรู้สึก เป็นการบวกเพิ่ม และตัดออก ของความคิด ในแต่ละช่วงเวลา และการทบทวนตัวเองเหล่านี้ มักจะเป็น ยามราตรี มากกว่าเวลา กลางวัน


เพราะกลางวัน มันสาระวนอยู่กับงานที่ทำ คิวปัญหาที่ต้องจัดการ และแก้ไข จึงไม่มีสติมากพอที่จะพินิจพิจารณา วิเคราะห์ตัวเองได้มากมายนัก

คนอื่น ปอยไม่รู้ และ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจคนอื่นได้

รู้แต่ว่า ตัวเอง ต้องทบทวนตัวเองทุกวัน เพื่อเป็นการ Defragment ตัวเองทุกวัน

เพราะวันๆ นึง ในสมองเราคิด จิตใจเราประมวลค่า ความรู้สึกของตัวเอง มากมาย

แต่ไม่ค่อย ได้จัดระเบียบ หัวใจ ตัวเองเท่าไร



“เรามา Defragment หัวใจ ของเราหน่อยดีไหมค่ะ”

ในระหว่างที่ Defragment หัวใจ เราก็ สแกน ไวรัส หัวใจบ้าง คัดแยกขยะในใจบ้าง สลับกันไป
 เวลา Defragment จะได้ไม่นานไม่เปลืองพลังงานและเวลามากมาย
“จะได้รู้ว่า จริงๆ แล้ว ขยะในใจ เรา มีมากน้อยแค่ไหนไง”

จัดระเบียบหัวใจ แล้วจิตใจจะได้สวยงาม ไม่รกเกินไป จะได้ปลอดโปร่ง โล่ง สบ๊าย สบาย ใจ

นิยามความรัก

นิยามความรักในใจ หลายคน คงไม่เหมือนกัน แต่ก็อาจคล้ายคลึงกันบ้าง แต่ก่อนคิดว่า ความรักคือการให้ คือการเสียสละ คือการให้อภัย คือ การใส่ใจดูแล ห่วงใยกัน ก่อนนั้นคิดว่า”รัก” คือความรู้สึกดีๆ ต่อมา คิดว่า “รัก” คือความคาดหวัง คิดว่ารักคือการแบ่งปัน แต่ความจริง ในวันนี้ กลับรู้ว่า จริงๆ แล้ว


“รัก” คือการอดทนนาน แต่ก่อนไม่เข้าใจ ว่าทำไมคน “รัก” กัน ถึงต้อง อดทนกันและกันมากมายขนาดนั้น ทำไมต้องอดทน ทำไม ต้องอดทนให้นาน รู้แต่ว่า ในตอนนั้น วลีหนึ่งที่ใช้บ่อย สำหรับการตัดพ้อ ต่อความรู้สึกนึกคิดที่ได้รับจากการกระทำที่ เราคิด ว่า เรา “รัก” เขา หรือว่า เรา “รัก” คนอื่น นั้นคือ วลีที่ว่า “คนที่เค้า รักกัน เค้าไม่ทำแบบนี้” เอ่ยถึง วลี ประโยคนี้ทีไร “น้ำตามันจะไหล” เพราะตอนนั้นรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ รู้สึกว่า “คนที่เค้า รักกัน เค้าไม่ทำแบบนั้น แบบนี้ อย่างนั้น อย่างนี้



แต่เชื่อไหม ตอนนี้ ปอยกลับรู้สึกว่า “รัก” คือ การอดทนนาน คือ เชื่อในส่วนดีของเค้า ไม่ต้องสนใจว่า เค้าจะไม่ดีอย่างไร ทำอะไรกับเราบ้าง ไม่ต้องสนใจ ว่าเค้า จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ รู้แต่ว่า “รัก” และเชื่อในส่วนดีของกันและกันเสมอ



แล้ว “รัก” ครั้งใหม่และตลอดไป ก็คือ “รักที่ไม่ต้องฝืนใจที่จะทน หรือ ข่มใจ ให้อดทน แต่ ทนได้ทุกอย่าง ก็เพราะ “รัก”

ไม่ใช่ “รัก” จึงทน แต่ทนได้เพราะ “รัก” เพราะ “รัก” จริงๆ ไม่ใช่ “รัก” อย่างที่ โลกรัก แต่รัก ในแบบที่พระเจ้าทรงสร้าง

เมื่อก่อน ก็ไม่เข้าใจ อีกนั้นแหละ ว่าทำไม จึงมีคำกล่าวที่ว่า “พระเจ้าเป็นความรัก” ไม่เข้าใจนะ เพราะตอนนั้นคิดว่า ประโยคนี้ น่าจะหมายความถึง การนำความรักเป็นใหญ่ แต่ จริงๆ ในใจตอนนี้ สัมผัสได้เลยว่า ” พระเจ้าเป็นความรัก “

ไม่ใช่ “ความรักเป็นพระเจ้า”นะ มันไม่เหมือนกัน จริงๆ พระเจ้าเป็นความรัก ไม่ใช่ ความรักเป็นพระเจ้า



“รัก” ในแบบที่ พระเจ้ารักเรา

“รัก” และอดทนนาน อย่างที่พระเจ้าอดทนกับเรา

“รัก” ที่เชื่อในส่วนดีของผู้อื่น เสมอ รวมถึง “รัก” ตัวเองด้วย

“รัก” ให้เป็น รักของพระเจ้าชอบธรรม เสมอ และไม่ลำเอียงเลย

“รัก” ของพระเจ้าใหญ่ยิ่ง เกิน คำอธิบายได้ (ปอยคงอธิบาย หรือ ให้คำนิยาม ของ พระเจ้าคงไม่หมดในวันเดียวแน่ และ ปอยก็คงไม่อาจหาญที่ จะ ทำให้คุณ หรือ ใครที่อ่าน ถ้อยคำเหล่านี้ แล้ว เชื่อ เชื่ออย่างที่ปอยเชื่อ คิดอย่างที่ปอยคิดได้หรอ เพราะ “รัก” ของพระเจ้านี้ อยู่ที่ ว่า “ใจ” ใครจะรับเอาไว้หรือไม่ เท่านั้น จริงๆๆ

16 กุมภาพันธ์ 2553

Pornprom Onlaweng 1992

“ พรพรหม อลเวง ” ละครเรื่องนี้ เมื่อ 18 ปีก่อน เป็นละครที่ปอยติดมากเลย ดูทีวีไม่ทันใจหาหนังสือพิมพ์มาอ่าน ติดมากเนี่ย ไม่รู้ว่าตอนนั้นที่ติดเพราะสนุกอย่างเดียว หรือว่า เพราะ ชื่อเรื่อง มีชื่อตัวเองปนอยู่นั้นนี้ก็ไม่ทราบ อ่ะนะ




ตอนนั้น ไม่รู้ รู้แต่ว่า ตอนนี้ ลูกพี่ปอย (หัวหน้างานน่ะ) บอกว่า จะเปลี่ยนลายเซ็น เปลี่ยนอะไรไม่ว่า

แต่ อย่าเป็น “พรพรหมอลเวงก็แล้วกัน 5555555555555

ไม่รับปากหรอก เพราะคาแรกเตอร์ปอยมัน อลวนอลเวง อย่างเงี้ย อิอิ

การเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากคนอดีต เป็นคนปัจจุบัน

เรารู้กันดีอยู่แล้ว กับความหมาย ของคำว่าอดีต คือสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และ ปัจจุบันก็คือสิ่งที่ดำเนินอยู่
ดังนั้น อดีต คือสิ่งที่ทุกคน รู้อยู่แล้วว่าที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นมา บ้าง แต่ จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยหากคิด ถึงอดีตในด้านลบตลอดเวลา หรือแม้แต่การจมปรักอยู่กับอดีต ทั้งเรื่องดี และเรื่องร้าย อดีต ที่เป็นเรื่องดี ก็มีประโยชน์ที่ทำให้จิตใจชุ่มชื่นเมือได้หวนคิดคำนึงถึง แต่ อดีตที่ขมขื่นล่ะ คิดแล้วได้อะไร หรือเปล่า ได้ความเจ็บปวด ได้ย้ำบาดแผลเดิม ได้ตำรอยแผลเก่า หรือ ได้ฉายหนังชีวิต ของตัวเอง ซ้ำอีกหลายพันรอบ ได้ทั้งนั้น


แต่ในวันนี้ ปอยอยากจะบอก ถึงการเปลี่ยนแปลง โดยใช้อดีต ให้เป็นประโยชน์ อย่างไรน่ะหรอ

1. ใช้ อดีต ให้เป็นประโยชน์ในการทบทวนตัวเอง การทบทวนตัวเอง คือการทำความรู้จักกับตัวเอง แต่การทบทวนที่ยุติธรรมกับตัวเองที่สุด คือ อย่าโกหกตัวเอง อย่าเข้าข้างตัวเอง แบบข้างๆๆคูๆๆ หรือ ไปได้แบบน้ำขุ่น ขอให้มีความจริงใจกับตัวเอง น้ำใสใจจริงซักหน่อย

2. ใช้ อดีต เป็นบทเรียนชีวิตบทเรียนชีวิต คือการบันทึกรายการที่ย้ำเตือนว่า ในครั้งต่อไป อย่าได้ทำ หรือ ทำได้ บทเรียนชีวิต คือ คำเตือน หรือ ข้อบ่งใช้ ในฉลากชีวิต คิดถึงอดีตได้แต่อย่านาน อย่าบ่อย แบบไม่มีเหตุผล อย่าเปลืองที่จะคิดถึงอดีต ออกแบบความคิดตัวเองใหม่ ให้สร้างสรรค์ แล้วทุกวันจะมีแต่คำว่า Happy จริงๆ นะ ไม่เชื่อต้องพิสูจน์เอง ไม่ทำไม่ว่า ไม่เห็นด้วย ไม่เป็นไร ไม่ใส่ใจ ก็ไม่นำพา ไม่ศรัทธา ก็ไม่ว่ากัน

3. แต่อย่าใช้ อดีต เป็นตัวกำหนดอนาคต



ที่สำคัญอีกประการ เมื่อรู้ตัวแล้วว่าเป็นคนอย่างไร ก็ต้องรู้จักให้อภัยตัวเอง เพื่อเปิดใจให้ตัวเองได้เริ่มต้นใหม่


ขอให้เชื่อ อย่างนี้ว่า “สิ่งเก่าๆ (อดีต) ก็ล่วงไปแล้ว นี่แหละ เป็นสิ่งใหม่(ปัจจุบัน)ทั้งนั้น เชื่อในความจริงข้อนี้แล้วไซร้ ก็จะเป็นคนใหม่ที่อยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีสันติสุขในใจได้

เพราะ การอยู่กับปัจจุบันสำคัญที่สุด


อย่าคิดเลย ว่า อดีต ใครคือต้นเหตุ อย่ารู้เลย ว่า อดีต ใครผิดพลาด อย่าคิดเลยว่าจะ โทษใครดี อย่าคิดหา แพะรับกรรม หรือคนรับบาป เพราะ สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ล่วงมาแล้วผ่านมาแล้ว อย่าคิดโทษ อย่าคิดหาคนผิด ให้ อภัย แล้วใจจะสบาย เข้าใจว่าไม่ง่ายที่จะให้ อภัย ขอเพียงว่า “อย่าจดจำความผิด ของคนอื่น (รวมทั้งตัวเองด้วย)”แล้วการ อภัย ก็จะทำได้ง่ายๆ

อนาคตเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ แล้วไซร้ ใยจึงอวดอ้างวันพรุ่งนี้ เล่า

01 กุมภาพันธ์ 2553

เท้าเทียม OTTO BOCK ที่ใฝ่ฝัน

ไม่แน่ใจว่าเท่าที่หาได้จากอินเตอร์เน็ต เท้าเทียมที่ปอยใช้อยู่น่าจะเป็น  อันแรกนะเนี่ย ตอนนั้น ซื้อมา ข้างละ 2,200 เอง ไม่รู้ตอนนี้เท่าไรแล้ว วันนี้คุณพิชัย จากบริษัท OTTO BOCK โทรศัพท์มาให้รายละเอียด ทราบราคาเบื้องต้น ไม่รู้ว่าจะใช่อย่างที่อยากได้หรือเปล่า แต่ ราคา60,000 กว่าบาท ซึ่งตั้งใจว่าจะทำเรื่องกู้เงิน คนพิการ ซัก 40,000 ไม่เกินนี้ คุณพิชัยบอกว่า มีอีกแบบ ประมาณ 30,000 ต้นๆ แล้วจะส่งแคตตาล็อกมาให้ดู อยากเห็นจัง ว่าเป็นไง ทำอะไรได้บ้างเน้อะ

31 มกราคม 2553

แฟ้มข่าวเทคโนโลยีขาเทียมและสถานการณ์การวิจัยพัฒนาขาเทียมในประเทศไทย

เทคโนโลยีขาเทียมและสถานการณ์การวิจัยพัฒนาขาเทียมในประเทศไทย


แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 06 ตุลาคม 2008 เวลา 10:05

เขียนโดย จักรพงศ์ พิพิธภักดี

วันจันทร์ที่ 07 กรกฏาคม 2008 เวลา 21:36







สาร NECTEC ปีที่ 15 ฉบับที่ 76 เดือน มีนาคม - เมษายน 2551 Download



สถานการณ์คนพิการตัดขา



ในปัจจุบันมีผู้พิการแขนขาขาดเป็นจำนวนมาก จากรายงานการสำรวจคนพิการ พ.ศ. 2544 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีพบว่า มีผู้พิการมือแขนขาขาด/ด้วนทั้งหมด 50,825 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของผู้พิการทั้งหมด หากรวมผู้ที่มีนิ้วมือขาด/ด้วนด้วยจะเพิ่มเป็น 100,505 คน (ร้อยละ 9.1 ของผู้พิการทั้งหมด) และหากรวมผู้ที่มีนิ้วเท้าขาด/ด้วนด้วยจะเพิ่มเป็น 122,042 คน (ร้อยละ 11.1ของผู้พิการทั้งหมด)1 โดยสาเหตุของความพิการอาจเป็นจากความพิการแต่กำเนิด อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการกลุ่มนี้จะช่วยให้ผู้พิการเหล่านี้มีระดับความสามารถสูงขึ้นช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างปกติและมีความสุขตามที่สภาพร่างกายและสังคมจะเอื้ออำนวย และยังสามารถก่อให้เกิดผลผลิตแก่สังคมได้นอกจากนี้ การผลิตขาเทียมในประเทศไทย ยังต้องมีการนำเข้าวัสดุส่วนประกอบจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูง โดยนำเข้ามาประกอบในประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการ ได้แก่ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โรงพยาบาลของรัฐที่มีหน่วยการอุปกรณ์เป็นต้น ซึ่งจากสถิติคนพิการตัดแขนขาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีจำนวนไม่น้อย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากสาเหตุต่างๆ หลายประการ ซึ่งหน่วยงานที่มีความสามารถและให้บริการยังมีน้อย ดังนั้นการให้บริการจึงจำเป็นต้องออกหน่วยให้บริการและทำการผลิตขาเทียมด้วยความเร่งด่วนและรวดเร็ว







ขาเทียมและส่วนประกอบของขาเทียม



ประเภทขาเทียมตามตำแหน่งของการตัด

1. ขาเทียมแบบเหนือเข่า (Above Knee Prosthesis) เป็นขาเทียมที่ใช้สำหรับคนพิการตัดขาระดับเหนือเข่า (Above Knee: AK) โดยขาเทียมประเภทนี้มีส่วนประกอบ ได้แก่. soft socket ทำด้วย pelite, เบ้าพลาสติก แบบ hard socket ทำด้วย HDPE, couplinf ทำด้วยอะลูมิเนียม, alignment unit ทำด้วย ABS, ข้อเข่าเทียม, แกนหน้าแข้ง (pylon) ทำด้วย Nylon-6 , และเท้าเทียม



2. ขาเทียมแบบใต้เข่า (Below Knee Prosthesis) เป็นขาเทียมที่ใช้สำหรับคนพิการตัดขาระดับใต้เข่า (Below Knee: AK) โดยขาเทียมประเภทนี้มีส่วนประกอบ ได้แก่. soft socket ทำด้วย pelite, เบ้าพลาสติก แบบ hard socket ทำด้วย HDPE, couplinf ทำด้วยอะลูมิเนียม, alignment unit ทำด้วย ABS,แกนหน้าแข้ง (pylon)และเท้าเทียม







ประเภทของขาเทียมตามลักษณะแกนของขาเทียม

1. ขาเทียมแกนนอก (Exoskeleton Prosthesis) เป็นระบบขาเทียมใช้ไม้ หรือโฟมอัดแน่นเป็นแกนขา และหุ้มด้วยพลาสติกเรซิน เพื่อป้องกันการสึกกร่อนและมีความสวยงามคล้ายขาจริง



2. ขาเทียมแกนใน (Endoskeleton Prosthesis) เป็นขาเทียมใช้แกนขาเป็นโลหะ หรือพลาสติกเป็นแกน นอกจากนี้สามารถใช้งานแบบเปลือย หรือหุ่มด้วยโฟมเพื่อความสวยงานก็ได้







ความแตกต่างของขาเทียมแบบแกนนอก และขาเทียมแบบแกนใน



1. ขาเทียมแกนนอกจะมีน้ำหนักมากว่าขาเทียมแกนใน โดยเฉพาะวัสดุแกนขาที่ทำจากไม้



2. ขาเทียมแกนนอกจะใช้ระยะเวลาในการผลิตนานกว่า โดยเฉพาะการแต่งไม้ให้มีรูปทรงที่เหมาะสม กับขา



3. ความคงทนแข็งแรง ขาเทียมแกนนอกจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าขาเทียมแกนใน



4. ขาเทียมแกนนอกหากเกิดการแตกหัก หรือเกิดความเสียหายขึ้นกับส่วนประกอบของขาเทียมส่วนใดส่วนหนึ่งจะต้องผลิตใหม่ทั้งชิ้น เนื่องจากการผลิตเป็นชิ้นส่วนที่ติดต่อกันทุกส่วน ส่วนขาเทียมแกนใน สามารถถอดเปลี่ยนได้ จึงเป็นการลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร







ส่วนประกอบของขาเทียม



1. เบ้าพลาสติก (socket) เป็นพลาสติก HDPE และ Polypropylene Copolymer



2. ลิ้นดูดสุญญากาศ (suction valve)



3. ข้อเข่า (hinge joint) สำหรับการถูกตัดผ่านระดับข้อทำด้วย stainless steel



1. ข้อเข่าเทียมแบบปลอดภัย (safety knee) ข้อ ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุการหกล้มขณะลงน้ำหนัก



2. ข้อเข่าเทียมงอพับง่ายทำด้วยพลาสติก



3. ข้อเข่าเทียมแบบปลอดภัยชนิดหลายจุดศูนย์กลาง (Poly centric knee joint) เป็นข้อชนิดใหม่ที่มูลนิธิขาเทียม ผลิตขึ้นซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุการหกล้มขณะลงน้ำหนักอันเนื่องมาจากข้อเข่าเทียมงอพับง่าย มีน้ำหนักเบา สามารถถอดประกอบได้ง่าย มีความมั่นคงในขณะก้าวเดิน ลงน้ำหนัก



4. แกนหน้าแข้ง (pylon) ทำด้วยพลาสติก



5. เท้าเทียม ประกอบด้วย



1. เท้าเทียมแบบ SACH (dynamic) ทำด้วยพลาสติกเปลือกหุ้มรูปเท้าทำด้วย polyurethane



2. เท้าเทียม แบบ syme เปลือกหุ้มทำด้วย polypropylene แกนในเป็น polyurethane



3. เท้าเทียมประหยัดพลังงาน ผู้พิการสวมใส่เดินได้ไกลขึ้นและเหนื่อยน้อยลง



4. เท้าเทียมเกษตร มูลนิธิขาเทียมเป็นผู้พัฒนาขึ้นมา ซึ่งเท้าเทียมนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความแข็งแรงทนทาน ยึดเกาะพื้นดินได้ดี ราคาถูกทนความเป็นกรดด่าง สามารถใส่เดินในน้ำ ในดินโคลน ในคอกปศุสัตว์ ปีนต้นไม้และภูเขาได้ง่าย



6. อุปกรณ์ยึดและปรับความเอียงของเบ้า (coupling)



7. อุปกรณ์ปรับแนว (alignment unit) ทำด้วยพลาสติก ส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เท้าเทียม ข้อเข่า แกนขา ทั้งชนิดแกนในและแกนนอก โดยทั่วไปนำเข้าโดย บริษัท OTTOBOCK (South East Asia) จำกัด เป็นผู้นำเข้า







หน่วยงานที่ให้บริการขาเทียมแก่คนพิการ



หน่วยงานที่ให้บริการขาเทียมแก่คนพิการหน่วยงานที่ให้บริการผลิตและบริการขาเทียมด้านต่างๆ ในประเทศไทยประกอบด้วย

1. มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นหน่วยงานที่ให้บริการผลิตขาเทียมให้กับคนพิการตัดขา โดยไม่คิดมูลค่า และผลิตกายอุปกรณ์อื่นๆ โดยขาเทียมของมูลนิธิฯเป็นขาเทียมชนิดแกนใน(endoskeletal) เป็นเบ้าประกอบกับอุปกรณ์ปรับแนวและแกนหน้าแข้ง(pylon) ทำด้วยพลาสติกหุ้มแต่งเป็นรูปขาด้วยโฟมแข็ง(rigid foam)และเคลือบหุ้ม(laminate)ด้วย polyester resin หรือ น่องสำเร็จรูปทำจาก polyurethane (P.U.) ทำให้ได้ขาเทียมที่ทำได้รวดเร็วมีน้ำหนักเบาตามแบบของชนิดแกนในแต่แข็งแรงทนทานเหมือนชนิดแกนนอก



2. ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านร่างกาย รวมทั้งกายอุปกรณ์ ขาเทียม โดยมีโรงเรียนกายอุปกรณ์ซึ่งทางประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งบุคลากรที่มีความชำนาญด้านขาเทียมมาสอน นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการออกหน่วยบริการสำหรับคนพิการที่ต้องได้รับขาเทียมตามโครงการต่างๆ



3. โรงพยาบาลของรัฐ ที่มีหน่วยให้บริการด้านกายอุปกรณ์และแขนขาเทียม เป็นหน่วยให้บริการผลิต และซ่อมแซมขาเทียม ซึ่งจะมีช่างกายอุปกรณ์เป็นผู้จัดทำ



4. โรงพยาบาลในสังกัด กระทรวงกลาโหม ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็นต้น



5. โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลตำรวจ



6. โรงพยาบาลเอกชน ที่มีหน่วยให้บริการด้านกายอุปกรณ์และแขนขาเทียม



7. บริษัทผู้แทนจำหน่าย เช่น บริษัท OTTOBOCK (South East Asia) จำกัด เป็นต้น







เทคโนโลยีขาเทียมในประเทศไทย



ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ทำการวิจัย พัฒนาขาเทียมและส่วนประกอบขาเทียมหลายหน่วยงาน



1. สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ทำการพัฒนาขาเทียมแบบปรับอัตราหน่วงได้ เป็นการพัฒนาระบบขาเทียมโดยเฉพาะข้อเข่าเทียมที่สามารถปรับอัตราหน่วงของของไหล เพื่อให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าเป็นไปอย่างราบเรียบ



2. กลุ่มบริการเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร การพัฒนาและผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนาส่วนประกอบต่างๆ ของแขนขาเทียมประกอบด้วย สลักยึด แกนขา ข้อเข่า และมือตะขอ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่ผลิตขาเทียมนำไปผลิตให้กับคนพิการไว้ใช้ ในราคาถูก



3. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทำการผลิตและทดสอบต้นแบบเท้าเทียมเพื่อใช้ในเชิง สาธารณประโยชน์สำหรับผู้พิการ ร่วมกับศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อขยายผลจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบเท้าเทียมสำหรับผู้พิการโดยกระบวนการฉีดขึ้นรูป” ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้เป็นส่วนประกอบต่างๆ ในเท้าเทียม การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในออกแบบเท้าเทียม และการนำต้นแบบเท้าเทียมไปทดสอบกับผู้พิการ





เทคโนโลยีขาเทียมของต่างประเทศ



Akin O. Kapti , M. Sait Yucenur(2006). ทำการศึกษาออกแบบข้อต่อขาเทียมโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวควบคุมในการเคลื่อนไหว งอและเหยียดขา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระ โดยทดลองให้ผู้พิการตัดขาเดินและทดสอบการใช้งานจริง ซึ่งจากการทดลองพบว่า การควบคุมการเดิน ทำได้สะดวกขึ้นคล้ายการเดินโดยขาจริง แต่ขนาดของมอเตอร์ แบตเตอรี่ยังมีขนาดใหญ่ และน้ำหนัก จึงได้มีการพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงและน้ำหนักเบาขึ้นต่อไป



Woodie C. Flowers. ทำการพัฒนาระบบขาเทียม โดยใช้การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมการทำงานของข้อต่อ ซึ่งได้ทำการพัฒนาระบบข้อต่อให้สามารถควบคุมการทำงาน การงอและเหยียด ผ่านการควบคุมโดยมือซึ่งทำการต่อสายออกมา เพื่อง่ายต่อการสั่งงานควบคุม การงอและเหยียดขา





The National Rehabilitation Center for Persons with Disabilities (NRCD) ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาพัฒนาต้นแบบขาเทียมหุ่นยนต์ขึ้นโดยการสั่งงานผ่านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถควบคุมการเดิน ตำแหน่งการลงน้ำหนักเท้าให้เหมาะสมโดยการติดตั้ง sensor ตรวจวัดค่าการลงน้ำหนักเพื่อป้องกันการล้ม การเคลื่อนไหวข้อเข่า เพื่อทำการวิเคราะห์ผลและทำการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมในแต่ละบุคคล ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาต้นแบบ โดยในปัจจุบันยังมีขนาดใหญ่ และในอนาคตจะทำการพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงใกล้เคียงกับขามนุษย์ นอกจากนี้ ได้ทำการพัฒนาเครื่องทดสอบเท้าเทียมเพื่อใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเท้าเทียม

Media lab of Massachusetts Institutes of Technology: MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาเท้าเทียมแบบประหยัดพลังงาน โดยใช้ระบบ Multiple spring และ Battery- powered motor ช่วยในการควบคุมการทำงานและการเดิน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินมากขึ้นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะขณะก้าวเท้า ในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นต้นแบบซึ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักค่อนข้างมาก และในอนาคตจะทำการพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงใกล้เคียงกับเท้ามนุษย์ มีน้ำหนักเบาขึ้นและมีการเดินใกล้เคียงและเป็นธรรมชาติมากขึ้น







อนาคตด้านเทคโนโลยีขาเทียม



1. ปัจจุบันการพัฒนาระบบควบคุมขาเทียมโดยใช้สัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อ EMG เป็นการเอาสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อในส่วนที่เหลือของขามาควบคุมการทำงานของขาเทียม



2. ในอนาคต ได้มีการวางแผนการพัฒนาการควบคุมขาเทียม จากสัญญาณคลื่นสมอง (Brain Wave) โดยการติด Sensor ไว้บนศีรษะในส่วนสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อขา และส่งสัญญาณไปยังขาเทียมเพื่อทำการควบคุมการเดินของขาเทียม



3. ขาเทียมแบบหุ่นยนต์ ปัจจุบันนักวิจัยที่ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ได้พัฒนาการเดินของหุ่นยนต์ให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ทำให้การควบคุมการเดินมีความใกล้กับการเดินของมนุษย์โดยทั่วไป และนำ เทคโนโลยีนี้มาพัฒนากับขาเทียมหุ่นยนต์เพื่อให้การเดินใกล้เคียงกับมนุษย์



4. ในประเทศไทย มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และหน่วยงานเครือข่าย ได้จัดทำโครงการวิจัย พัฒนา และให้บริการแขนขาเทียม ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้ร่วมมือพัฒนาขาเทียม และส่วนประกอบขาเทียมในราคาถูก และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับของต่างประเทศ เพื่อให้คนพิการไวใช้



5. การพัฒนาเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพของส่วนประกอบขาเทียม ได้แก่ เครื่องทดสอบเท้าเทียม เครื่องทดสอบข้อเข่าเทียม เครื่องทดสอบประสิทธิภาพของส่วนประกอบต่างๆ ของขาเทียม



6. การพัฒนาศูนย์ และหน่วยทดสอบประสิทธิภาพขาเทียม เพื่อทำการทดสอบขาเทียมและส่วนประกอบขาเทียมเป็นไปตามมาตรฐานสากล



เอกสารอ้างอิง



[1] กรมการแพทย์ (2547). แนวทางเวชปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยผู้พิการแขนขาขาด. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ฝ่ายกาย.สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

[2] มูลนิธิขาเทียม (2547). ความรู้เกี่ยวกับขาเทียม. History online: [http://www.prosthesesfoundation.or.th].

[3] ทศพร พิยาชัย(2548). ความรู้เกี่ยวกับขาเทียม . เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชากายอุปกรณ์ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[4] ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ(2548). สรุปสถานการณ์ ข้อมูล เรื่องเท้าเทียมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

[5] Akin O. Kapti , M. Sait Yucenur(2006).Design and control of an active artificial knee joint. Mechanism and Machine Theory 41 jorunal (2006) page. 1477–1485.

[6] Hugh Herr, Ari Wilkenfeld. (2003). "Industrial Robot: An International Journal Volume 30 Number1 2003." pp.42-55.

[7] Hugh Herr. World’s First Powered Ankle-Foot Prosthesis. Media lab of Massachusetts Institutes of Technology.

[8] Ottobock. The Ottobock Mobility System. Ottobock 2007 Catalog.Germany.

[9] Woodie C. Flowers. Use of an Amputee-Computer Interactive Facility in Above-Knee Prosthesis Research. Massachusetts Institute of Technology



< ย้อนกลับ ถัดไป >





สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของ สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก โปรดแจ้งให้ สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

ลิขสิทธิ์ © 2010 สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก : REAT. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.



112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ 02-564-6900 ต่อ 2470-2476 โทรสาร 02-564-6876



ขับเคลื่อนโดย Joomla!

29 มกราคม 2553

ชีวิตที่เติบโตในเส้นทางพระเจ้า

เมื่อก่อนเวลาที่จุดธูปไหว้พระพุทธรูป ปอยจะอธิษฐานถึงเจ้ากรรมนายเวรเสมอ อธิษฐาน ของให้เจ้ากรรนายเวร มาเอากรรมเอาเวรที่เคยมีต่อกันคืนไปให้หมด ยินดีชดใช้ แต่ ยิ่งอธิษฐาน ก็ยิ่งทุกข์ วิบากกรรมที่ได้รับฝืนทน เอาการ แต่ ช่วงเวลานั้นก็ผ่านมาแล้ว ปอยจึงรู้ความจริงว่า ปอยไม่อาจรับกรรมที่เคยก่อไว้ได้หมด เพราะ กรรมที่ทำโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวนั้นมากมายเหลือเกิน แค่ง่าย ๆ เถียงแม่ ทำให้บุพการีร้องไห้เสียใจนี่ก็ตกนรกหลายขุมแล้ว บาปที่เกิดจาก กาย วาจา ใจ มันมหาศาล เนื้อหนัง และจิตวิญญาณ ไม่อาจทนรับได้หรอก จริงๆ




ทางเลือกที่จะยินยอมชดใช้บาปผิดด้วยเนื้อหนัง และ จิตวิญญาณของเราเองตามลำพังนั้น เกินกำลัง และสาหัสจริงๆ ปอยจึงเลือกเดินทางใหม่ ฝากชีวิตและจิตวิญญาณไว้กับพระเจ้า ด้วยเมตตาจากพระองค์ ทรงไถ่บาปแทนเรา



เมื่อก่อนปอยคิดเสมอว่า ตัวเราเนี่ยมันเลว แสนเลวที่ทำให้แม่ร้องไห้ กับนิสัยที่เอาแต่ใจ ชอบเถียง ไม่ให้เกียรติ แม่ พูดนินทา ต่อว่ากันไป ต่อว่ากันมา ตาต่อตาฟันต่อฟันกันเหลือเกิน รักนะ แต่แสดงออกไม่เหมาะสม ย้อนไปมองตัวเองในอดีตแล้วสงสารคนที่อยู่รอบข้างเรา ไม่น่าเลย จริงๆ เวลาที่ปอยเขียนไดอารี่ทุกครั้ง ปอยจะชอบด่าตัวเอง ไม่รู้สึกรักตัวเองเลย สมน้ำหน้าตัวเอง ประชดตัวเอง ประชดคนอื่นตลอดเวลา ทุกข์นะ เพราะ แม้แต่ตัวเองยังไม่เห็นค่าตัวเอง ไม่รัก ตัวเอง แล้วอย่างนี้จะรักคนอื่นได้อย่างไรกัน แต่ด้วยคำสอนของพระเจ้าทำให้เราเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง ด้วยถ้อยคำที่ว่า “สิ่งเก่าๆ ก็ล่วงไปแล้วนี่แหล่ะเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น” ทำให้ปอยได้เริ่มต้นใหม่ อย่างมีสันติสุขในใจมากขึ้น อดีตที่คิดว่าบาปเรานั้นหนาเหลือเกิน ชดใช้เท่าไรก็ไม่หมด ก็ได้รับการไถ่บาปแล้ว ก็เริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง



แต่พูดก็พูด ความเป็นมนุษย์คือคนบาป แม้จะถูกล้างบาปแล้ว ก็พลาดพลั้ง ทำบาปซ้ำสอง สาม สี่ อินฟินิตี้ ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว แต่พระเจ้าก็ทรงสอน ทรงให้อภัย



ตอนนี้ปอยตั้งมั่นไว้เลยว่าจะใคร่ครวญและทบทวนตัวเองอยู่เสมอ สารภาพบาปกับมนุษย์ มนุษย์ด้วยกันก็สุดยากจะให้อภัยกันได้จริงๆ ยังอาจมีเคืองกันอยู่บ้าง ลึกๆ ปอยขอสารภาพบาปกับพระเจ้าและเริ่มต้นใหม่กับพระองค์ ทุกๆ วัน ทุกๆ เวลาดีกว่า



ขอให้ปอยได้เติบโตขึ้นในเส้นทางของพระเจ้าผู้ทรงชอบธรรมดีกว่า ตามใจพระเจ้าดีกว่าตามใจมนุษย์ ตั้งใจไว้ว่า จะคิดให้ได้ว่าจะปรนนิบัติเหมือนกับได้ปรนนิบัติพระเจ้า จะรับใช้คนอื่นเหมือนได้กับได้รับใช้พระเจ้า ต้องทำให้ได้ จริงๆ ตั้งปณิธานไว้เลย ถ้าทำได้จิตใจคงเป็นสุขและมีความชื่นชมยินดี ชีวิตคงสมบูรณ์ขึ้น

28 มกราคม 2553

เรื่อง เบี้ยความพิการเวอร์ชั่นปัจจุบัน

เป็นความเข้าใจผิด และ ทำให้เกิดความสับสนอย่างมากทีเดียว กับ เบี้ยความพิการที่ออกมา เพราะ คนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 500 บาทอยู่แล้วก็งงเป็นไก่ตาแตก ตามๆ กัน ว่า มันเหมือนหรือต่างอะไร กับเบี้ยความพิการ มันต่างกันตรงที่บริบทของ ความหมายของ ชื่อที่ใช้เท่านั้น แต่สิทธิที่ได้ คือ เบี้ยมูลค่า 500 ต่อเดือน

งงไหม เอางี้ เล่าให้ฟังดีกว่า เมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ปอยโทรศัพท์ไปถามเจ้าหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด นนทบุรี กะ เชียงใหม่ ให้ข้อมูลตรงกันว่า ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนและมีบัตรประจำตัวคนพิการ และได้เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาทไปแล้วนั้น ไม่ต้องแจ้งขอเบี้ยความพิการอีก เพราะมันเป็นตัวเดียวกัน เจ้าหน้าที่จังหวัดนนทบุรีบอกว่า(ขอโทษที่ไม่ได้ถามชื่อเสียงเรียงนามของท่านเกรงว่าจะรบกวนเวลาของท่านมากไป เลยรีบๆ ถามท่านไป ณ บัดNow) ท่านบอกว่า สำหรับคนพิการอย่างเดียว แต่ ยังไม่ชรา จะได้รับเบี้ยความพิการ แต่ถ้าพิการด้วยชราด้วย(หมายความว่า อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะได้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วย (2เด้งนั้นเอง)



ในกรณีของปอยคือ ได้เบี้ยยังชีพแล้ว ก็ไม่ต้องยื่นขอเบี้ยความพิการอีก เพราะมันตัวเดียวกัน ประมาณว่า เป็นเบี้ยversion เก่า(เบี้ยยังชีพคนพิการ)ว่างั้น สำหรับผู้พิการรายใหม่ที่เพิ่งจดทะเบียน ก็เป็นเบี้ยversionใหม่ (เบี้ยความพิการ)



สรุป ปอยได้ใช้สิทธินั้นนานแล้ว และเงิน 500 บาทต่อเดือนที่ได้คนอื่นอาจว่ามี ค่าน้อย แต่สำหรับปอย มันมีค่ามาก เพราะมันมีค่า มากกว่า 0 บาทนั้นเอง และถ้าให้ชีวิตยั่งยืน ปอยคงต้องต่อยอดให้ เงิน500 บาทมีมูลค่ามากขึ้น ด้วยการนำเงินนั้นไปจ่ายอะไรสักอย่างที่มัน ไม่ใช่การได้มาและจ่ายไปเปล่าๆ



ตอนนี้ปอยเอาเงินนั้นมาซื้อประกันสุขภาพให้ลูกแบบสะสมทรัพย์ มันจะมีมูลค่ามากขึ้นและเป็นเสมือนมรดกให้ลูกได้อย่างดีทีเดียวจากแต่ก่อนปอยอาจแค่เอาไปซื้อนมให้ลูกก็ให้มันอยู่ในกรมธรรม์ดีกว่า จริงๆ นะ ชีวิตไม่แน่นอนอะไรก็เกิดขึ้นได้ ประกันผู้ชำระเบี้ยคือ (ประกันเรา)เมื่อเราเป็นอะไรกะทันหัน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยตาย อุบัติเหตุตาย(ซึ่งอุบัติเหตุเนี้ย เราสัมผัสมาแล้วว่า มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราเคยโชคดีรอดมาได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะอยู่ค้ำฟ้า จริงป่ะ ) นานาทัศนะนะ ปอยก็แค่เล่าให้ฟัง นำพาหรือไม่ สุดแล้วแต่จะเห็นชอบนะจ๊ะ

27 มกราคม 2553

ข้อความนี้อ่านมาและอยากขยาย

เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคมมีงานวันคนพิการจัดโดยกรุงเทพมหานคร และ ๒๒ ธันวาคมมีงานของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีประเด็นตรงกับเรื่องนี้พอดี




งานวันคนพิการที่กทม. จัดนั้นมีการเชิญวิทยากรทั้งคนพิการและนักวิชาการมาพูดถึงความก้าวหน้าของกฏหมายไทยที่จะให้ประโยชน์แก่คนพิการ ยกตัวอย่างเช่น เบี้ยยังชีพ 500 บาทต่อเดือน การเพิ่มจำนวนโควต้าจาก 200:1 เป็น 50:1 (จ้างงานคนพิการ) การให้ทุนคนพิการเรียนปริญญาตรีฟรี การสนับสนุนค่าใช้จ่ายผู้ช่วยส่วนตัวคนพิการ การให้บริการล่ามภาษามือ ฯลฯ ซึ่งเกือบทุกอย่างล้วนแต่จัดให้คนพิการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในณะที่การประชุมอีกที่หนึ่งเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการในการเข้าถึงกิจการโทรคมนาคม เมื่อสามปีที่แล้ว มีการออกประกาศ USO (Universal Service Obligation) หรือบริการทั่วถึง หนึ่งในประกาศดังกล่าวมีการแจกบัตรโทรศัพท์ (พินโฟน) ให้คนพิการจำนวน 1,000,000 ล้านใบ ใบละ 100 บาท ทุกเดือนเป็นเวลา 30 เดือน (ณ ขณะนี้ประกาศ USO ฉบับใหม่ออกแล้ว แต่บัตรเก่ายังแจกไม่หมด) รวมเป็นเงิน (1,000,000 x 100 x 30) 3 พันล้านบาท ซึ่งไม่ใช่จำนวนน้อยๆ ในขณะเดียวกันก็มีคนพิการให้ความเห็นว่ามีบัตรแล้วใช้ไม่ได้ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่จะใช้ไม่สะดวกสำหรับคนพิการ คนตาบอดไม่ทราบรหัสบนการ์ดเนื่องจากไม่มีอักษรเบรลล์ คนพิการหลายคนไม่ทราบว่าจะไปเอาบัตรที่ว่าได้ที่ไหน ฯลฯ และนโยบาย/กฎหมายต่างๆ เหล่านี้ต่างก็บอกว่า เป็นการให้สวัสดิการด้วยฐานสิทธิ



ผมได้แสดงความเห็นไปว่า ตอนนี้ประเทศของเรากำลังคลั่งคำว่าสิทธิ ทุกคนพูดเรื่องสิทธิ ทุกคนโฆษณางานของตนว่าเป็นงานเชิงสิทธิ แต่เราเข้าใจคำว่าสิทธิมากน้อยเพียงใด เรากำลังสับสนกับคำว่าสิทธิกันอยู่หรือเปล่า จากนโยบายและกฎหมายข้างต้น ผมเกิดคำถามว่า “เรากำลังจะหนีจากการทำงานเชิงสงเคราะห์หรือเรากำลังส่งเสริมให้มีการสงเคราะห์มากขึ้นโดยอ้างว่าเป็นสิทธิ” อยู่หรือเปล่า? ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า กลยุทธ์การ “ลดแลกแจกแถม” นั้นยังใช้ได้ในสังคมของเราอยู่ และนักการเมืองหรือหน่วยงานของรัฐก็ใช้กลยุทธ์เช่นว่านี้กับประชาชนบ่อยครั้ง และก็จะได้รับความนิยมแทบทุกครั้ง (ประชานิยม) เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ จำนวนกลุ่มเป้าหมายมีมาก คนอยากได้ของฟรีมีมาก โครงการที่ออกมาก็เลยดูเหมือนประสบความสำเร็จเพราะได้รับการตอบรับดี เช่น การให้เบี้ยคนพิการ 500 บาทต่อเดือน กลุ่มเป้าหมายคือคนพิการที่จดทะเบียน ณ ตอนนี้ประมาณเกือบหนึ่งล้านคน แต่จำนวนคนพิการที่จดทะเบียนก็จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายนี้ด้วยอย่างแน่นอน เพราะคนพิการอยากได้เบี้ยยังชีพ 500 บาท ผมไม่ได้ต่อต้านนโยบายนี้ และไม่ได้บอกว่าคนพิการไม่ควรได้รับเบี้ยยังชีพ แต่คำถามต่อไปของผมก็คือ



ระหว่างสวัสดิการจากรัฐ (จะให้ด้วยแนวคิดฐานสิทธิหรืออะไรก็แล้วแต่) กับโครงสร้างพื้นฐานที่สมเหตุสมผล อะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน? หรือเราควรจะให้น้ำหนักในการทำงานกับสองอย่างนี้อย่างไร? ผมเคยยกตัวอย่างว่า “ถ้าสมมติเราเอาโทรทัศน์ไปให้ประชาชนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ประชาชนจะเปิดโทรทัศน์นั้นได้อย่างไร”? แน่นอนว่าเมื่อระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะจ่ายไฟไม่มี ประชาชนก็คงเปิดทีวีไม่ได้ หรือไม่ก็ต้องไปดิ้นรนเอาเอง เช่น ไปหาเครื่องปั่นไฟมา เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและไม่ยั่งยืน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนพิการในปัจจุบัน ถ้าคนพิการได้เงินมา 500 บาท แต่ระบบขนส่งมวลชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก คนพิการออกจากบ้านไม่ได้ การจะเอาเงิน 500 บาทไปใช้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอาเองอีกตามเคย ถ้าคนพิการได้รับทุนเรียนปริญญาตรีฟรี ก็ต้องไปหาวิธีเอาเองว่าจะไปเรียนอย่างไร จะเข้าถึงตำราเรียนอย่างไร จะสื่อสารกับครูและเพื่อนอย่างไร ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเมื่อโครงสร้าง/บริการพื้นฐานไม่พร้อม (ในระดับหนึ่ง) ก็ส่งผลให้สวัสดิการที่ให้กับประชาชนไม่ประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน ผมขอตั้งข้อสังเกตอีกข้อว่า นโยบายกฎหมายที่เน้นสวัสดิการให้กับประชาชนรายบุคคล (ได้สิ่งของหรือเงินเป็นสมบัติของตัวเอง) นั้นสามารถทำได้เร็วและมีผลในทางปฏิบัติค่อนข้างไว แต่นโยบายและกฎหมายที่เน้นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางสังคมหรือทางกายภาพ เป็นสิ่งที่เห็นผลช้าและมีผลน้อยในทางปฏิบัติ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ แต่เราต้องไม่ลืมว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น เมื่อคนพิการคนหนึ่งถึงวัยต้องเข้าเรียน เขาก็ต้องสามารถเข้าเรียนได้เร็วที่สุด ไม่สามารถรออีก 5 ปี 10 ปีต่อไปได้ แม้เราจะเคยมีนโยบายว่าคนพิการที่อยากเรียนต้องได้เรียน แต่มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะคนพิการไม่อยากเรียน แต่โครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้คนพิการเรียนได้นั้นไม่มี และไม่ได้รับการกล่าวถึงในเชิงนโยบาย (เพื่อให้มีงบประมาณและการปฏิบัติ) เราก็ต้องถามตัวเองว่า เราจะต้องรออีกนานแค่ไหนเราจึงจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมเหตุสมผลพอให้คนพิการเรียนได้? ซึ่งมันก็ไม่ควรจะนานเกินไปเพราะการศึกษาเป็นฐานสำคัญมาก ที่จะช่วยให้คนพิการมีอาชีพและดำรงชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไปได้ โครงสร้างพื้นฐานอย่างอื่นเองก็ต้องมีการพัฒนาให้มีมากพอและสมเหตุสมผลเช่นกัน



กลับมาที่เรื่องสิทธิ ผมกำลังเกิดคำถามว่า สิทธิที่เราอ้างถึง ณ ขณะนี้มันคือสิทธิอะไรกันแน่ มันคือ “สิทธิมนุษยชน (Human rights)” หรือ “สิทธิพลเมือง (Civil rights)” หรือ “สิทธิที่ได้รับตามกฎหมาย (Entitlement)” เราเข้าใจความแตกต่างของสิทธิทั้งสามอย่างนี้หรือไม่ สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนในโลกได้รับตั้งแต่แรกเกิด เช่น สิทธิในการมีชีวิต สิทธิในการเคลื่อนที่ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการด้านสุขภาพ สิทธิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น สิทธิพลเมือง เป็นสิทธิที่ประเทศนั้นๆ ให้แก่ประชาชนทุกคนของประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการมีบัตรประชาชน สิทธิในการโยกย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น ส่วนสิทธิตามกฎหมายนั้น เป็นสิทธิที่ให้กับคนเฉพาะกลุ่ม เช่น คนพิการ/คนชรามีสิทธิในการได้รับเบี้ยยังชีพ 500 บาทจากรัฐ เป็นต้น จากจุดนี้ เราจะเห็นได้ว่า การทำงานด้านสิทธิในประเทศไทยนั้นเน้นหนักไปที่ สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสวัสดิการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเฉพาะกลุ่มและเฉพาะหน้า เราต้องถามตัวเองอีกครั้งว่า การให้สวัสดิการหรือให้ของฟรีแก่ประชาชนนั้นเป็นการสงเคราะห์หรือไม่ อาจไม่ใช่เรื่องผิดที่จะสงเคราะห์ในบางครั้ง แต่ในระยะยาว ประชาชนจะมีทักษะหรือโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองหรือไม่ นโยบายเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากการทำโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ เพื่อเรียกคะแนนจากประชาชน แต่ในระยะยาว ประชาชนจะไม่ได้อะไรที่เป็นรูปธรรมมากพอที่จะต่อยอดต่อไปได้ เช่น การให้เบี้ยคนพิการ 500 บาท แม้จะเก็บเงินนั้นไว้โดยไม่ใช้เลย ในปีหนึ่งก็จะมีเงินเก็บเพียง 6,000 บาท ไม่พอแม้แต่จะซื้อรถวีลแชร์สักคัน เก็บ 10 ปีก็จะได้เพียง 60,000 บาท ไม่พอที่จะซื้อบ้านอยู่ด้วยซ้ำ



ด้วยเหตุนี้ คนพิการจึงไม่สามารถหวังพึ่งสิทธิตามกฎหมายนี้ได้เพื่อความยั่งยืน เราจึงจำเป็นต้องคิดมากขึ้น ทำอย่างไรคนพิการจะอยู่ในสังคมได้ เริ่มต้นตั้งแต่การได้รับการยอมรับในครอบครัวและชุมชน การออกจากบ้าน การเรียน การทำงาน การฝึกทักษะต่างๆ การทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนที่คนพิการไม่ได้รับหรือได้รับแต่ไม่เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ แน่นอนว่าถ้าเราถามนักการเมืองหรือหน่วยงานของรัฐ เราก็จะได้รับคำตอบว่า มีแผนการอย่างนี้อยู่แล้ว เราไม่ได้ทำอย่างเดียว แต่...น้ำหนักจริงๆ ไปอยู่ตรงไหน? ในทางปฏิบัติงานไหนที่มันเห็นผลสำเร็จมากกว่ากัน? หรือจริงๆ แล้วเราชอบทำงานแบบไหนมากกว่ากัน? งานสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นงานที่เห็นผลช้า หาตัวชี้วัดยาก ใครก็ไม่อยากทำ เช่น การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบขนส่งมวลชนเพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนในการเคลื่อนที่ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อทำไปแล้วคนพิการจะมาใช้หรือไม่ มาใช้กี่คนในหนึ่งเดือน จะได้เงินจากคนพิการเท่าไร คุ้มหรือไม่ ฯลฯ ก็เลยไม่ค่อยอยากทำ อนึ่ง จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นว่าในหลายๆ กรณี สิทธิมนุษยชนจะมีอิทธิพลต่อสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิมนุษยชนในการแสดงความคิดเห็น อาจส่งผลให้เกิดสิทธิตามกฎหมายเพื่อให้คนหูหนวกได้รับเครื่องมือสื่อสารเฉพาะ เช่น โทรศัพท์ข้อความ เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ สิทธิตามกฎหมายจะช่วยส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้ด้วย ทีนี้ เราคงต้องมาคิดกันล่ะครับว่า ทำอย่างไร จึงจะทำให้สิทธิตามกฎหมายหรือสิทธิพลเมืองสามารถส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (ซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่กว่า) ได้ แน่นอนว่าสิทธิตามกฎหมายที่เน้นการสงเคราะห์นั้นอาจไม่ช่วยมากนักหรือเกิดผลสำเร็จได้ช้า โดยเฉพาะการสงเคราะห์ที่ไม่คำนึงถึงความต้องการหรือการมีส่วนร่วมของผู้รับ/ผู้ใช้



ผมเคยถามเพื่อนๆ คนพิการด้วยกันว่าระหว่าง “ของฟรีที่ใช้ไม่ค่อยได้” กับ “ของไม่ฟรีแต่ใช้ได้มากกว่า” เราจะเลือกอะไร เป็นคำถามที่ง่าย และถ้าให้ตอบก็คงง่ายเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติ เราชอบทำแบบไหนกันล่ะครับ?????

5H!2http://www.prachatai.com/node/27036/talk

โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง

โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง


วันที่ลง: 30 พฤศจิกายน 2552, แก้ไข: 30 พฤศจิกายน 2552, 11:00 น., จำนวนเข้าชม: 155



โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง

ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทุกคนได้รับเบี้ยความพิการในเดือนเมษายน 2553 รวมทั้งได้รับสิทธิอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิคนพิการ พ.ศ. 2550 อาทิ ด้านการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และสวัสดิการสังคมเป็นต้น นั้น

เนื่องจากตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้คนพิการที่มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นๆ จากรัฐ จะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการก่อนจึงจะเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการในการทำบัตรประจำตัวคนพิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ จึงขอประชาสัมพันธ์การยื่นคำร้องขอจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการ ดังนี้

1. ให้คนพิการที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวคนพิการได้ที่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต., เทศบาล) ทุกแห่ง โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สถานีอนามัยทุกแห่ง และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกแห่ง ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2552

2. ให้นำเอกสารหลักฐานประกอบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวคนพิการดังนี้

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือสำเนาสูติบัตรของคนพิการ

(2) สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ

โครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง


ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการและการจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการอย่างทั่วถึง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทุกคนได้รับเบี้ยความพิการในเดือนเมษายน 2553 รวมทั้งได้รับสิทธิอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิคนพิการ พ.ศ. 2550 อาทิ ด้านการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และสวัสดิการสังคมเป็นต้น นั้น

เนื่องจากตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้คนพิการที่มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นๆ จากรัฐ จะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการก่อนจึงจะเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการในการทำบัตรประจำตัวคนพิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ จึงขอประชาสัมพันธ์การยื่นคำร้องขอจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการ ดังนี้

1. ให้คนพิการที่มีภูมิลำเนาที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวคนพิการได้ที่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต., เทศบาล) ทุกแห่ง โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สถานีอนามัยทุกแห่ง และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกแห่ง ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2552

2. ให้นำเอกสารหลักฐานประกอบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวคนพิการดังนี้

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือสำเนาสูติบัตรของคนพิการ

(2) สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการ

(3) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป

(4) ใบรับรองความพิการรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชน ที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประกาศกำหนด

(5) กรณีบุคคลอื่นยื่นคำขอแทนคนพิการ ให้นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้นประกอบด้วย
3. เมื่อคนพิการได้รับบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว ให้ดำเนินการลงทะเบียนขอใช้สิทธิรับเบี้ยความพิการได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีภูมิลำเนาที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2552

ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยความพิการ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

1. มีสัญชาติไทย
2. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
4 .ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือสถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐ หรือถูกขังในเรือนจำตามหมายจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย

คนพิการ ซึ่งได้รับสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย หรือระเบียบอื่น ไม่เป็นการตัดสิทธิที่คนพิการจะได้รับตามระเบียบนี้
จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อสอบถามได้ทางโทรศัพท์หมายเลข 0-5311-2716 ต่อ 18 ในวันเวลาราชการ
ที่มา:http://www.chiangmai.m-society.go.th/main.php?mod=/showdetail/260/

แฟ้มข่าว:ลงทะเบียนใช้สิทธิ์รับเบี้ยยังชีพ

กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงานมหกรรมวันคนพิการสากล อย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ เปิดตัวกิจกรรม D-Day ลงทะเบียนใช้สิทธิ์รับเบี้ยยังชีพความพิการ ๓ ธันวาคม’๕๒ ที่เมืองทองธานี


ThaiPR.net -- อังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2009 17:58:00 น.

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงานมหกรรมวันคนพิการสากล ประจำปี ๒๕๕๒ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ทั่วประเทศพร้อมกัน ภายใต้แนวคิด “พลังคนพิการเพื่อสังคม” มุ่งเน้นเปิดโอกาสให้คนพิการแสดงออกถึงศักยภาพให้สังคมได้ตระหนัก และยอมรับความสามารถของคนพิการ เปิดตัว “D-Day ลงทะเบียนใช้สิทธิ์รับเบี้ยยังชีพความพิการ” รองรับการจ่ายเงินเบี้ยความพิการแก่คนพิการทุกคนทั่วประเทศ ที่จดทะเบียนคนพิการแล้ว เดือนละ ๕๐๐ บาท เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป



นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวในการแถลงข่าวการจัดงานวันคนพิการสากล ประจำปี ๒๕๕๒ ว่า องค์การสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้วันที่ ๓ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล เพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติมีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนพิการ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกได้ดำเนินการให้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันคนพิการสากลเป็นประจำทุกปี สำหรับปี ๒๕๕๒ นี้ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลัก (Theme) เพื่อเป็นแนวทางจัดกิจกรรมให้แก่ประเทศสมาชิก คือ “Empowerment of Persons with Disabilities and Their Communities around the World.” “การเสริมพลังคนพิการ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่คนพิการอยู่อาศัย”



นางนวลพรรณ กล่าวถึงความก้าวหน้าในการส่งเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการว่า ขณะนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้เร่งดำเนินการเพื่อเป็นการส่งเสริมพลังคนพิการ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในหลายประการ อาทิ ๑) การส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึง ๒) การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๓) การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมแก่คนพิการ ๔) การจัดให้มีระบบบริการล่ามภาษามือแก่ผู้พิการทางการได้ยินในกรณีต่างๆ และ ๕) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของไทยที่คนพิการทุกคนจะได้รับเบี้ยความพิการอย่างทั่วถึง



“เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะมอบเบี้ยความพิการให้แก่คนพิการทุกรายที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทุกคน เดือนละ ๕๐๐ บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไปนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ได้ดำเนินการออกสำรวจคนพิการแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๕ — ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และจะเปิดตัวกิจกรรม “D-Day การออกบัตรประจำตัวคนพิการและการลงทะเบียนใช้สิทธิ์รับเบี้ยความพิการ” ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันคนพิการสากล โดยในส่วนกลางกำหนดเปิดตัวในงานมหกรรมวันคนพิการสากล ที่เมืองทองธานี และส่วนภูมิภาคจะมีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด (พมจ.) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน” นางนวลพรรณ กล่าว



อาจารย์ดารณี ธนะภูมิ ประธานสภาคนพิการฯ กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมวันคนพิการสากล ประจำปี ๒๕๕๒ กำหนดจัดในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ พร้อมกันทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ประเด็นหลักของการจัดกิจกรรม คือ “พลังคนพิการเพื่อสังคม” ในส่วนกลาง กำหนดจัดงาน ณ ห้องรอยัลจูบีลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี โดยกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดงานและมอบโล่เกียรติยศแก่บุคคล/องค์กร/สื่อดีเด่นที่สนับสนุนงานคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น องค์กรด้านคนพิการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การเสวนาทางวิชาการ “การเสริมพลังคนพิการ และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการเบี้ยความพิการ” นิทรรศการความก้าวหน้าในงานด้านคนพิการ การแสดงความสามารถของคนพิการ และการรวมพลังคนพิการเพื่อสังคมของคนพิการ และองค์กรด้านคนพิการ รวมทั้งกิจกรรม “D-Day ลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิเบี้ยความพิการ และออกบัตรประจำตัวคนพิการ” ด้วย จึงเชิญชวนคนพิการ ครอบครัว และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในงานมหกรรมวันคนพิการ ๒๕๕๒ ณ ห้องรอยัลจูบีลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี และทุกจังหวัดทั่วประเทศ



Facebook Twitter พิมพ์ข่าวนี้ ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กทม.สั่งเร่งลงทะเบียนผู้พิการรับเบี้ยยังชีพ

กทม.ชูเบี้ยยังชีพผู้พิการสร้างโอกาสให้ผู้พิการในกรุงเทพฯ

ภาพข่าว: PRANDA รับโล่เกียรติคุณส่งเสริมอาชีพผู้พิการ

พม. จับมือสภาคนพิการฯ และเครือข่าย จัดงานมหกรรมวันคนพิการสากล พร้อมเปิดตัว D-Day ลงทะเบียนใช้สิทธิ์รับเบี้ยยังชีพความพิการ

ภาพข่าว: แสดงความยินดีหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันคนพิการสากล เบี้ยยังชีพ เมืองทองธานี ข่าวทั่วไป อังคารที่ 24 พ.ย. 2009ข่าวทั่วไปล่าสุด

Call me my friend

วันนี้เอริ์ธโทรมาเล่าเรื่องไปขอเบี้ยความพิการ แล้วก็ถามปอยว่าปอยได้ไปขอมายัง เราก็งง ว่ามันเหมือนหรือว่ามันต่างกะเบี้ยยังชีพยังไง คุยไปคุยมาเลยได้ความว่า ไม่เหมือนกัน ตกเย็นเลยมาหาในgoogle
เบี้ยความพิการ เดือนละ 500 บาท


3 กระทรวงเร่งทำบัตรคนพิการ

ให้ทันรับเบี้ย 500 บาทในเม.ย.53 นี้


พม. สธ. และ มท.เดินหน้าสำรวจคนพิการทั่วประเทศ 15-30 พ.ย.นี้ เพื่อเร่งจัดทำบัตรประจำตัวคนพิการรายใหม่ ให้เสร็จทันภายในกุมภาพันธ์ 2553 เตรียมพร้อมขึ้นทะเบียนรับเบี้ยความพิการ เดือนละ 500 บาท ตั้งแต่เมษายน 2553


นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการด้วยการจ่ายเบี้ยความพิการให้กับคนพิการทุกคนที่ได้จดทะเบียนคนพิการแล้วเดือนละ 500 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 โดยคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว และมีความประสงค์จะขอรับเบี้ยความพิการ สามารถไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการได้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่อื่นตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นประกาศกำหนด ในปี 2553 คนพิการสามารถไปลงทะเบียนและยื่นคำขอได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิรับเบี้ยความพิการในเดือนมีนาคม 2553



พม.ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามกฎหมายดังกล่าว และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนพิการ จึงได้ประสานงานไปยังกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เพื่อค้นหา สำรวจบุคคลที่มีสภาพความพิการรายใหม่ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้คำแนะนำการจัดเตรียมเอกสาร และขั้นตอนการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ โดยจะสำรวจพร้อมกันระหว่างวันที่ 15-30 พฤศจิกายนนี้



สำหรับคนพิการที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ให้นำหลักฐาน ประกอบด้วย



1.เอกสารรับรองความพิการ โดยแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ



2.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีเป็นเด็ก ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด



3.ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด



4.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป



ติดต่อขอจดทะเบียนคนพิการได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน เขต 1-12 กรุงเทพฯ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ประชาบดี โทร. 1330 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง.







*****************************



พันตรีศิริชัย ทรัพย์ศิริ



สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (ส.พ.ค.)



www.waddeeja.com



Tel.02-990-0331



3110522037

วันหนึ่งที่แม่ไปทำงานละลูกไปโรงเรียน

ไม่ได้มาอัพบล็อก ล่ะก็ไม่ค่อยได้ทำขนมเลย
เพราะได้งานทำแล้ว ลูกเจแปนก็ไปโรงเรียนละ


2-3 วันแรก เจแปนร้องไห้งองแงนิดหน่อยตอนที่ไปส่ง และลูกก็เริ่มปรับตัวได้ แต่ วันที่ 3 น้ำมูกเริ่มมา พอวันเด็กไปเที่ยวกองบินกะพ่อเค้า ทีนี่ล่ะ ทั้งไอทั้งจามทั้งไข้มากันเป็นชุดเลย หยุดเรียนไปอีก 1 อาทิตย์ เต็มๆ พอมาวันจันทร์ เหมือนเริ่มต้นใหม่ เจแปนไม่ร้องไห้ แต่ซึมมากหน้างิ จ๋อยมากๆๆ แต่พอวันที่ 3 ก็เริ่มปรับตัวได้ ร่าเริงมากขึ้น กินข้าวกินนมได้มากขึ้น เฮ้อออ โล่งอกดีใจที่ลูกมีความสุขกับการไปโรงเรียน